มาเตรียมตัวให้พร้อมก่อนไปผจญภัยในป่า หรือจะไปท้าท้ายบนยอดเขากันดีกว่า
สำหรับผู้ที่รักการท่องเที่ยวแบบผจญภัย โดยเฉพาะการเดินป่าและการปีนเขา หรือชอบการตั้งแคมป์กางเต้นท์นอนฟังเสียงธรรมชาติ เสียงน้ำตก เสียงสายลมบนยอดเขา ก่อนที่เราจะออกเดินทางไปท่องโลก เรามาเตรียมพร้อมกันก่อนดีกว่าค่ะ ซึ่งในบทความนี้ได้รวบรวมอุปกรณ์การเดินทางมาฝากกันค่ะ
1. การเตรียมความพร้อมของร่างกาย
ใครว่าไม่สำคัญหากเราร่างกายไม่พร้อม การเดินป่าไกล ๆ หรือการปีนเขาสูงๆ อาจเสี่ยงอันตรายได้ไม่ว่าจะเป็นการหายใจไม่ทัน หรือการปีนเขาสูงๆ ออกซิเจนในอากาศก็ยิ่งน้อยหากรางกายเราไม่พร้อมก็จะเกิดอันตรายได้ ควรเตรียมความพร้อมโดยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ก่อนออกเดินทาง
2. กระเป๋าเป้เดินทาง
แนะนำควรเป็นกระเป๋าเป้สำหรับเดินป่า หรือปีนเขาโดยเฉพาะ เพราะจะมีแผ่นรองกันช้ำที่บ่า มีเครื่องพยุงหลัง และน้ำหนักเบาเพื่อความสบายในการเดินป่าระยะไกล และปีนเขาทึ่สูงชัน และควรเลือกขนาดให้เหมาะสมกับร่างกาย เช่น ผู้หญิงขนาด 40 – 50 ลิตร ผู้ชายขนาด 45 – 65 ลิตร หรือก่อนซื้อควรลองสะพายก่อนก็ดีค่ะ
3. เต็นท์
หากป่าหรือภูเขาที่เราไปไม่มีทึ่พัก หรือเต้นท์ให้เช่า เราห้ามลืมที่จะเอาเต้นท์ของเราไปเองเด็ดขาดเพราะเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากในการเข้าไปพักค้างอ้างแรมในป่าหรือบนยอดเขา และควรเลือกเต้นท์ที่มีน้ำหนักเบาไม่เกิน 1.5 กก. ก็จะดีมาก หรือไม่สะดวกแบกเต้น์ไป จะเป็นเปลนอนก็ดีค่ะ เพราะมีน้ำหนักเบานำติดตัวไปง่ายทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสถานที่เราที่ไปด้วยนะคะว่ามีกิ่งไม้หรือต้นไม้สำหรับผูกเปลหรือเปล่า
4. ถุงนอน
ควรเลือกที่มีขนาดเล็กน้ำหนักเบาแต่ยังต้องมีคุณสมบัติกันความหนาวได้ดีพอสมควร
5 . ผ้าใบกันฝน
ผ้าใบกันฝน กันน้ำค้าง เอาไว้เพื่อกางคลุมเต็นท์อีกที มีหลายขนาดเช่น 3×3 เมตร 4×3 เมตร เป็นต้น
6. ถุงเท้ากันทาก
ควรมีส่วนตัวติดกระเป๋าเป้ไปทุกครั้ง ยิ่งเข้าป่าหน้าฝนนี่ไม่ควรลืมเลยค่ะ
7. ถุงมือผ้า
ควรมีติดตัวไปทุกครั้ง เอาไว้ใส่เวลาเราต้องเดินเขาป่าหรือขึ้นเขาแล้วต้องใช้มือจับต้นไม้ที่มีหนาม และยังป้องกันแมลงกัดต่อยได้ดีอีกด้วย หรือเวลานอนช่วงอากาศหนาว ๆ ใช้สวมมือให้รู้สึกอุ่นนอนหลับสบายด้วยค่ะ
8. ชุดเดินป่า
ควรเป็นเสื้อแขนยาว กางเกงขายาว มีลักษณะที่แห้งง่ายและหนาพอที่จะป้องกันกิ่งไม้และหนามได้
9. ไม้เท้าสำหรับ-เดินป่า-ปีนเขา
ช่วยในการทรงตัวระหว่างการเดินหรือวิ่งได้ดี โดยเฉพาะในเส้นทางชันมีทั้งทางขึ้นและลง ป้องกันการลื่นล้มในเส้นทางเปียกลื่นได้ด้วย
10. รองเท้าเดินป่า
ควรเป็นรองเท้าหุ้มข้อ หรือรองเท้าเทรล เพราะรองเท้าประเภทนี้จะมีลักษณะป้องกันเท้าเราได้ดี เช่นไม่ลื้นง่าย พื้นรองเท้าหน้าป้อกกันก้อนหินที่มีคมได้ดี หรือกันสัตว์มีพิษเวลาเราพลาดเข้าไปเหยียบเค้าเข้าโดยไม่ได้ตั้งใจ
11. รองเท้าแตะ
เวลาตั้งแค้มป์ เพื่อความสบายเท้า
12. ถุงเท้า
ถ้ามีถุงมือผ้าแล้ว สิ่งที่ขาดไม่ได้อีกอย่างก็คือ ถุงเท้าค่ะ
13. ไฟฉาย
แบบคาดหัวและแบบถือ แบบคาดหัวจะสะดวกทำให้มือว่าง ใช้ตอนกางเต้นท์จะสะดวกมาก ทั้งสองแบบควรเลือกที่ใช้ถ่านขนาดเดียวกันก็จะดีมากเอาไว้สับเปลี่ยนกันเวลาแบบใดแบบหนึ่งถ่านหมดแต่เราจำเป็นต้องใช้
14.เข็มทิศ
เข็มทิศสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการเดินทางได้ เช่น เวลาเดินป่าเพื่อให้เรารู้ทิศในการเดินทางหากหลงป่า และต้องศึกษาวิธีใช้ก่อนออกเดินทางด้วยนะคะ 15. เสื้อกันฝน
ที่สวมใส่ได้ง่าย และหนาพอที่จะกันลมกันฝนได้ และมีฮูดสำหรับคลุมหัวด้วยก็ดีค่ะ
16. เสื้อแจ็คเก็ต
อากาศเวลากลางคืนในป่าหรือบนยอดเขามักค่อนข้างเย็น เราควรเตรียมเสื้อแจ็คเก็ตติดตัวในสักตัวก็ดีค่ะ
17. ถุงดำ หรือถุงขยะ
สำหรับใส่ขยะเพื่อนำกลับมาทิ้ง หรืออาจมีถุงพลาสติกเล็กอื่น ๆ และหนังยางเพื่อใช้ประโยชน์สำหรับใส่กล้อง อุปกรณ์ถ่ายรูปและของสำคัญกันเปียกชื้นก็ยังได้ค่ะ
18. มีดพกพา
หรือมีดฟันต้นไม้ กิ่งไม้ ควรมีติดตัวไปด้วยก็ดีค่ะ
19. ไฟแช๊ค ไม่ขีด
หรือเทียน ควรมีติดตัวไว้ใช้ตอนก่อไฟค่ะ
20. ทิชชู่แห้ง ทิชชู่เปียก
ใช้สำหรับทำความสะอาดร่างกายจำเป็นมากค่ะ
21. นกหวีด
ใช้ในกรณีหากพลัดหลงจากกลุ่มเพื่อน เพราะนกหวีดเสียงจะไปได้ไกลกว่าเสียงเราตะโกนค่ะ
22. ยาสามัญทั่วไป
เช่น ผงเกลือแร่ ยาธาตุ ยาแก้คัน ยาแก้แพ้ ยาแก้ไข้ ยาหม่อง ยาทาแผลสด พลาสเตอร์ยา และยาสำหรับโรคประจำตัว
23.ออกซิเจนกระป๋อง
เป็นสิ่งจำเป็นมากเหมือนกันค่ะ สำหรับการขึ้นเขาที่สูง ๆ เพราะมีปริมาณออกซิเจนที่เบาบาง อานทำให้เรารู้สึกอากาศไม่พอหายใจไม่สะดวก ถ้าออกซิเจนกระป๋องก็สามารถช่วยเราได้ค่ะ
24. แก้ว จาน ชาม ช้อน
จะเป็นแบบกระดาษที่สามารถย่อยสลายได้ หรือจะเป็นแบบพลาสติกกินแล้วล้างได้พกกลับบ้านได้ก็ดีค่ะ (ถือเป็นของส่วนตัวที่ควรมี)
25. เชือก
ยาวประมาณ 10-25 เมตร เอาไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน เช่น ข้ามลำห้วยที่มีกระแสน้ำไหลเชี่ยว และควรมีเชือกอเนกประสงค์สำหรับทำราวตากผ้าและใช้งานอื่น ๆ
26.ขนมขบเคี้ยว
สำหรับเพิ่มพลังงาน เช่น กล้วยตาก ลูกเกด อินทผาลัม ช้อคโกแลต และอื่นๆ ตามแต่สะดวก
27. อาหาร น้ำ และเสบียง
ควรเอาให้ไปพอดี กับวันที่เราเดินทาง หรือจะเอาไปมากกว่าวันที่เราเดินทางก็ได้เผื่อในกรณีที่เราหลงป่ามันจะมีประโยชน์มาก
28. เตาแก๊สแบบพกพา หม้อสนาม
หากพกไปได้จะสะดวกมากยิ่งช่วงหน้าฝนไม่ต้องเสียเวลาก่อไฟ
29. ผ้าพันคอ ผ้าบัพปิดหน้า
เผื่อจำเป็นต้องใช้ในยามเดินเข้าป่าที่เป็นดงหนาม หรือขึ้นเขาลมแรง เป็นต้น
30. อุปกรณ์อาบน้ำ
ควรเป็นแบบขนาดพกพาได้สะดวก เช่น สบู่ ยาสีฟัน แปรงสีฟัน ยาสระผม
31. ถุงกันน้ำ
สำหรับใส่กล้อง โทรศัพท์มือถือ และอื่น ๆ กันเปียกชื้น
32. อุปกรณส่วนตัวที่เราจำเป็นต้องนำติดตัวไป
เช่น ผ้าอนามัย ชุดนอน ชุดชั้นใน ผ้าเช็ดตัวควรเลือกที่มีขนาดบาง พกพาง่าย แห้งไว ตามที่เราสะดวกจะติดตัวไปค่ะ
33. เพาเวอร์แบงค์
ควรจะขนาดเล็กสะดวกต่อการพกพามีน้ำหนักเบาความจุของแบตเตอรี่ควรเหมาะสมกับวันที่เราไปด้วยค่ะ
34. กล้องถ่ายรูป
กล้องถ่ายรูปเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับนักเดินทางเลยค่ะ ไม่ว่าเป็นเป็นกล้องดิจิตอล DSLR หรือกล้องจากโทรศัพท์สมาร์ทโฟน เอาไว้เก็บรูปภาพป่าเขาที่สวยงาม บันทึกไว้เป็นความทรงระหว่างการเดินทางผจญภัยของเราค่ะ
ทั้งนี้อุปกรณ์ควรจัดให้เหมาะสมกับพื้นที่ และช่วงฤดูกาลที่จะไป เพราะกระเป๋าเป้และของที่จะแบกหากเราไม่มีลูกหาบไม่ควรแบกไปหนักมากกว่าร้อยละ 15 – 20 ของน้ำหนักตัวเรา หากเราเตรียมร่างกาย จิตใจและอุปกรณ์กันพร้อมแล้วเราก็ไปลุยป่าลุยเขากันให้สนุกไปเลยค่ะ อ๋อ!! อีกเรื่องที่ขาดไม่ได้ เราควรเช็คสภาพอากาศก่อนเราออกไปลุยด้วยนะคะ ^_^